วิธีการติดตั้งแผงไฟ LED magnet กับโคมไฟเพดานกลม

หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 32 Watt หรือนีออนกลมแบบเก่า ที่ต้องใช้บัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ ได้ถูกพัฒนามาใช้เป็น LED กลมในปัจจุบัน ซึ่งทำให้วิธีการติดตั้งแตกต่างไปจากเดิมด้วย

สรุปวิธีการติดตั้ง (หากต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเลื่อนไปอ่านด้านล่างได้เลย)

หลอดฟลูออเรสเซ็นต์เดิม จะต้องมีการติดตั้งบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ ถึงจะสามารถเสียบขั้ว 4 สายเข้ากับหลอดได้เลย และใส่หลอดในบริเวณเขี้ยวตัวล็อคไฟ เพื่อไม่ให้หลอดตกลงมา

หลอด LED กลมแบบใหม่ (Magnet Circle) ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใด ๆ สามารถต่อไฟตรงจากสวิตช์ไฟ 2 เส้นกับหลอดได้เลย และยึดติดกับฐานโคมไฟด้วยแม่เหล็กที่ยึดติดกับหลอดไฟ

วิธีการติดตั้งแบบละเอียด (ในกรณีที่มีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์เก่าในโคมไฟ)

  1. ปิดสวิตช์ไฟ ให้มั่นใจว่าไม่มีการจ่ายกระแสไฟมาดังหลอดไฟดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยในการติดตั้ง และถอดหลอดเก่าออก
  2. ทดลองแปะ LED กลมบริเวณฐานโคมไฟก่อน และจัดมุมให้หลอดสามารถยึดติดกับฐานโคมไฟได้อย่างมั่นคง
    2.1 หากไม่สามารถวาง LED กลมบนฐานโคมไฟได้ อาจจะต้องถอดโคมไฟลงมา เพื่อถอดบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าว ขวางทางการติดตั้งหลอดไฟใหม่
    2.2 หากสามารถวาง LED กลม ยึดติดกับฐานได้อย่างเหนียวแน่น (แม่เหล็กจะต้องยึดติดให้ครบทั้ง 3 จุด) สามารถทิ้งบัลลาสต์ไว้ในโคมไฟได้เลย แม้ว่าจะไม่ได้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวแล้วก็ตาม
  3. สังเกตสายไฟที่ออกมาจากด้านหลังโคมไฟ (เส้นที่มาจากสวิตช์ไฟ) ให้ถอดปลายสายไฟ 2 เส้นดังกล่าว ซึ่งปลายสายด้านหนึ่ง ต่ออยู่กับบัลลาสต์ และปลายสายอีกด้านต่ออยู่กับขั้วหลอดไฟที่มีสตาร์ทเตอร์ติดอยู่ ให้ถอดสายไฟเส้นดังกล่าวออกมา

    ข้อสังเกต : สายไฟจะมีสีตามมาตรฐานเก่า สีขาว/ดำ หรือตามมาตรฐานใหม่ สีน้ำตาล/ฟ้า
  4. สามารถต่อสายไฟเข้ากับหลอดไฟ LED กลมใหม่ได้เลย โดยสามารถสลับสายไฟได้ตามปกติ
    (หากตอนปิดไฟ แล้วหลอดมีอาการเรืองแสง อาจจะทดลองสลับสายไฟอีกครั้ง และหากยังไม่หาย จะเกิดจากสาเหตุนี้)
  5. ปิดฝาครอบ และทดลองเปิดไฟได้เลย